ผู้ใช้งาน Steam ใน ‘จีน’ เลี่ยงการแบนหนังโป๊ ด้วย โปรแกรม Wallpaper

ผู้ใช้งาน Steam ใน ‘จีน’ เลี่ยงการแบนหนังโป๊ ด้วย โปรแกรม Wallpaper

โปรแกรม Wallpaper เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นในหมู่ผู้ใช้งานแพลตฟอร์ม Steam ภายในประเทศ จีน แต่เหตุผลนั้นไม่ใช่เพราะตัวโปรแกรมโดยตรง แต่เป็นเพราะเป็นแนวทางเลี่ยงการแบนหนังโป๊ได้ต่างหาก (27 ก.ค. 2565) Wallpaper Engine – โปรแกรม ภาพเบื้องหลังหน้าจอคอมพิวเตอร์ เริ่มได้รับความนิยมเป็นอย่างยิ่งในบรรดาผู้ใช้งานแพลตฟอร์ม Steam ประจำประเทศ จีน แต่เหตุผลของการใช้งานนั้น ไม่ได้มาจากความชื่นชอบในภาพเบื้องหลังเสียเท่าไหร่ หากแต่เป็นช่องทางในการเลี่ยงมาตรการแบนสื่อลามกภายในประเทศต่างหาก

Wallpaper Engine ถือว่าเป็นโปรแกรม/ซอฟต์แวร์ที่เปิดให้ผู้ใช้งานสามารถสร้างภาพ,

 วิดีโอ และภาพเคลื่อนไหวสำหรับการเล่นบน Desktop ของคอมพิวเตอร์ได้ โดยตัวโปรแกรมดังกล่าวนั้นก็เปิดให้สามารถมีการแบ่งปันแลกเปลี่ยนผลงานที่สร้างขึ้นมาได้อีกด้วย ซึ่งบรรดาผู้ใช้งานชาวจีนนั้น ก็เห็นโอกาสในการเข้าถึงสื่อลามกต่าง ๆ ผ่านช่องทางนี้ได้ จึงเริ่มดำเนินการสร้างสื่อลามกแบบ Wallpaper (Wallpaper Porns) ขึ้นมา

จากการสำรวจของ MIT Technology Review นั้น ก็พบว่าจากจำนวนเนื้อหาที่ถูกสร้างขึ้นทั้งหมด 1.6 พันล้านชิ้นนั้น 7.5% ถือว่าเป็นเนื้อหาที่อยู่ในข่าย “สำหรับผู้ใหญ่” และมีการฉายภาพเคลื่อนไหวการร่วมเพศของตัวละครจากเกมส์ และการ์ตูนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Overwatch, Genshin Impact, และ Final Fantasy

ความนิยมในการใช้งานทั้ง Wallpaper Engine และ Steam ในรูปแบบนี้ของผู้ใช้งานชาวจีน ก็มาจากการที่แพลตฟอร์มนี้ถือว่าเป็นพื้นที่ยังสามารถเข้าถึงได้โดยไม่ต้องใช้งาน VPN (virtual private network) ระบบจำลองเครือข่าย ที่มักจะถูกใช้งานในการผ่านระบบป้องกันต่าง ๆ รวมถึงในกรณีของประเทศจีนที่เรื่องชื่อในการจำกัดการเข้าถึงเนื้อหาต่าง ๆ ที่รัฐบาลมองว่าไม่พึงประสงค์ 

อย่างที่ Daniel Ahmad นักวิเคราะห์จาก Niko Partners ได้ให้สัมภาษณ์บนรายงานว่า “Steam ได้กลายมาเป็นแพลตฟอร์มเพียงแค่ตัวเดียวในประเทศจีนที่ยังคงดำเนินงานในกรอบพื้นที่สีเทาอยู่” ด้วยการที่มันเป็นพื้นที่กึ่งเปิดให้สามารถเผยแพร่เนื้อหาสำหรับผู้ใหญ่ (18+) และหน่วยงานภาครัฐไม่สามารถเข้าไปแทรกแซงได้อย่างเต็มที่นั้น ทำให้หน้า Steam Workshop ของ Wallpaper Engine ถือว่าเป็นที่พักผิงของเนื้อหารูปแบบนี้ก็ว่าได้

โดยทั้งนี้แล้วนั้น ก็ยังคงมีความเสี่ยงต่อการเข้าควบคุมพื้นที่สีเทาแห่งนี้อยู่ เห็นได้จากแนวทางที่ผ่านมาของรัฐบาลในการควบคุมทั้งสื่อลามก – วงการเกมส์ และการดำเนินการจำกัดเนื้อหาบางส่วนตั้งแต่เนิ่นของ Steam China ทำให้ก็ขึ้นอยู่กับเวลาว่ากรงเล็บมังกรนั้น จะเข้ามาจิกเมื่อไหร่

Make Instagram Instagram Again แคมเปญลงชื่อให้ IG กลับมาเป็นตัวเองอีกครั้ง

ได้มีการจัดแคมเปญ Make Instagram Instagram Again ที่เปิดร่วมลงชื่อเพื่อเรียกร้อง/แสดงจุดยืนให้ IG นั้น กลับมาพัฒนาในรูปแบบที่ควรเป็นอีกครั้ง และเลิกตามแนวทางของ TikTok อีกด้วย

(26 ก.ค. 2565) เมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้มีการจัดแคมเปญ Make Instagram Instagram Again หรือ “ทำให้อินสตราแกรมกลับมาเป็นอินสตราแกรมอีกครั้งหนึ่ง” โดยเป็นโครงการบนเว็บไซต์ Change.org ที่เปิดร่วมลงชื่อเพื่อเรียกร้อง/แสดงจุดยืนให้ IG นั้น กลับมาพัฒนาในรูปแบบที่ควรเป็นอีกครั้ง พร้อมทั้งเลิกทำการพัฒนาเลียนแบบ TikTok ด้วยเช่นกัน

โดยผู้จัดทำแคมเปญดังกล่าว Tati Bruening ก็ได้กล่าวถึงจุดประสงค์ของแคมเปญไว้ว่า เป็นการเรียกร้องให้ทาง Instagram (IG) กลับมาพัฒนาในรูปแบบเดิมที่ผู้คนต้องการอีกครั้งหนึ่ง ผ่านการเน้นย้ำแนวทางด้วยกัน 4 ประการ ได้แก่

นำเอา Chronological Timeline กลับมา

– ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทำให้ยุ่งยากมากขึ้น ผู้ใช้งานต้องการเพียงแค่รู้ว่าสิ่งที่เพื่อน หรือผู้ที่ติดตามได้โพสต์ลงไปนั้น เกิดขึ้นเมื่อไหร่

เลิกทำตัวเหมือน หรือเป็น TikTok เสียที

– TikTok นั้นก็เหตุผลในการมีอยู่ของตัวมัน และก็ยอมรับกันเถอะว่า คลิปวิดีโอสั้น (Reels) ที่มีการนำเสนอบนแพลตฟอร์มนั้น ก็ล้วนแล้วมาจากรีไซเคิลจาก TikTok และเป็นเนื้อหาที่หลาย ๆ คนต่างก็เคยดูมาแล้วทั้งนั้น

Algorithm ที่เอื้อประโยชน์แก่รูปภาพ

– กลับไปสู่รากเหง้าของแพลตฟอร์มนี้ และจดจำถึงเจตนารมณ์เบื้องหลังการเกิดขึ้นของ Instagram ที่มีไว้เพื่อสำหรับการแบ่งปันรูปถ่ายเป็นหลัก

แพลตฟอร์มที่รับฟังเสียงของผู้สร้างสรรค์เนื้อหา

– มันถือว่าเป็นอะไรที่ดูไม่เข้าท่ากับการปิด Algorithm บนผู้สร้างสรรค์เนื้อหา (Creators) ที่สร้างเนื้อสร้างตัว และมีส่วนต่อชุมชนของแพลตฟอร์มนี้ เพื่อที่จะให้พวกเขานั้นต้องปรับเปลี่ยนทั้งทิศทางของเนื้อหา และการใช้ชีวิตของพวกเขาตาม Algorithm ใหม่ แพลตฟอร์มควรรับฟังเสียงของ Creators และเก็บไปพิจารณาบ้าง

Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป